เด็กหวงของ

เด็กหวงของ เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ เมื่อมีของเล่นสุดโปรดก็ไม่อยากให้ใครมาจับหรือมาเล่น เพราะกลัวจะพัง กลัวคนอื่นเอาไปแล้วไม่คืน หากลูกเกิดหวงของขึ้นมา คุณพ่อคุณแม่ควรหาวิธีสอนลูกไม่ให้เป็นเด็กหวงของไปนานๆ เพราะจะติดนิสัยไปจนโต ทำให้อยู่ร่วมกับคนอื่นได้ยาก

เด็กหวงของ พฤติกรรมที่เปลี่ยนได้

เด็กหวงของ เป็นพฤติกรรมเด็กหวงของเล่น ชอบแย่งของเล่นกับเพื่อน ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ของตัวเอง หรือแม้แต่ของเล่นตัวเองก็ไม่ยอมแบ่งปันให้กับเพื่อนๆ หรือพี่น้องเล่นด้วย จนทำให้ทะเลาะกัน เรื่องนี้คงทำให้ผู้ปกครองปวดหัวอยู่ไม่น้อยจนบางครั้งคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองเองก็อาจจะเผลอมีอารมณ์ ดุลูกหรือเผลอลงโทษลูก จากการทะเลาะกันระหว่างเด็กๆ แต่หากเราลองมาทำความเข้าใจอารมณ์ลูก และค่อยๆ สอนลูกให้รู้จักแบ่งปัน เชื่อว่า ลูกจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กหวงของได้

สาเหตุการหวงของเล่น ชอบแย่งของเล่น

โดยธรรมชาติของเด็กแล้ว การแย่งของเล่น หรือการที่เด็กหวงของเล่นสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน และถือเป็นพัฒนาการด้านอารมณ์อย่างหนึ่ง โดยเฉพาะเด็กอายุ 1 ขวบขึ้นไป เขาจะเริ่มอยากเป็นเจ้าของทุกอย่าง ไม่เพียงแต่สิ่งของ แต่หมายรวมถึงพ่อแม่ของเขาด้วย ซึ่งเด็กอายุ 1 ขวบ ส่วนมากมักจะติดพ่อแม่ จึงหวงพ่อแม่กับเด็กคนอื่นๆ ส่วนเด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป อาจแสดงพฤติกรรมเด็กหวงของเล่นมาก มากจนไม่ยอมแบ่งปันให้ใคร แม้กับพี่น้องด้วยกัน เพราะเด็กจะมองว่า ของเล่นเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของเขา เมื่อมีคนมาแย่งของเล่นไป เขาจะแย่งของเล่นกลับทันที โดยไม่สนว่า อีกฝ่ายกำลังถือ หรือเล่นอยู่

การที่เด็กแสดงพฤติกรรมดังกล่าวออกมา ทำให้พ่อแม่ หรือคนอื่นมองว่า เป็นเด็กไม่น่ารัก เป็นเด็กก้าวร้าว เอาแต่ใจ แต่ผู้ปกครอง ผู้ใหญ่อย่าเพิ่งตัดสินเด็กเลย เพราะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ จะยังแยกแยะเองไม่ได้ ว่าสิ่งไหนควรทำ ไม่ควรทำ รวมถึงการรู้จักแบ่งปัน  มีน้ำใจต่อผู้อื่น เพราะสมองเขายังไม่ได้รับการพัฒนามากนัก ส่งผลให้อาจแสดงพฤติกรรมแย่งของเล่นของคนอื่น เด็กหวงของของตัวเองมากจนไม่รู้จักแบ่งปัน

ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวสามารถสอนให้เด็กๆ เข้าใจและเรียนรู้ได้ สามารถเกิดพฤติกรรมใหม่ ที่แบ่งปัน มีน้ำใจกับคนอื่นๆ ได้ เพราะหากเด็กหวงของไม่ได้รับการสอน การแนะนำที่ถูกต้องในช่วงวัยนี้ จะส่งผลต่ออนาคต ทำให้เมื่อโตขึ้นจะควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้ อาจเป็นเด็กก้าวร้าว เช่น เด็กทะเลาะกัน พี่น้องทะเลาะกัน อาจถึงขั้นลงไม้ลงมือ ปาข้าวของ หรือทำร้ายร่างกายกัน

การที่เด็กจะแสดงพฤติกรรมออกมาอย่างไร ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับพื้นฐานอารมณ์ของเด็ก ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือ วิธีเลี้ยงลูกและการอบรมสั่งสอนลูกของผู้ปกครอง ที่จะเป็นตัวบ่มเพาะ ขัดเกลาพฤติกรรม อารมณ์ ความคิดของเด็กๆ ดังนั้น ถ้าอยากให้บุตรหลานเป็นเด็กแบบไหน ผู้ปกครองเองก็ควรจะทำเป็นแบบอย่างให้เขา และค่อยๆ สอนเขาไปตามวัยเพราะเด็กๆ จะมีพัฒนาการทางด้านสังคม เรียนรู้ที่จะปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ก็ขึ้นกับคุณพ่อ คุณแม่และผู้ดูแล ซึ่งหากคุณพ่อ คุณแม่ทำความเข้าใจเด็กในแต่ละช่วงวัยได้ถูกต้อง ก็จะเข้าใจอารมณ์ลูกมากยิ่งขึ้น  ไม่บีบคั้นเด็กจนเกินไป หรือเกิดคาดหวังในตัวลูกมากจนเด็กวิตกกังวล ว่าจะทำไม่ถูกใจคุณพ่อคุณแม่

ทักษะการแบ่งปัน จำเป็นต่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม

“ทักษะการแบ่งปัน” ผู้ปกครองสามารถสอนลูกให้รู้จักแบ่งปันได้ตั้งแต่เล็กๆ ไม่ควรปล่อยปละละเลย หรือ มองข้ามว่า เป็นเรื่องธรรมชาติของเด็ก เพราะหากเด็กไม่ได้รับการฝึกทักษะนี้ตั้งแต่ยังเด็ก เมื่อเขาโตขึ้น เข้าโรงเรียนก็อาจมีปัญหาในการอยู่ร่วมกับเพื่อนๆ และคุณครูได้

โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัยเผยว่า การเข้าสังคม ไม่รู้จักแบ่งปัน คือปัญหาที่พบบ่อยในรั้วโรงเรียน ในขณะเดียวกันเด็กบางกลุ่มกลับไม่มีปัญหาเช่นนี้ เพราะการที่จะปรับตัวให้เข้าสังคมได้ดีหรือไม่ ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับพื้นฐานวิธีเลี้ยงลูกของผู้ปกครอง และการสอนลูกให้เข้าสังคมเป็นตั้งแต่เล็กๆ หากเด็กหวงของและไม่เคยฝึกให้รู้จักแบ่งปันมาก่อนโดยผู้ปกครอง พอถึงวัยเข้าโรงเรียน เด็กอาจไม่รู้จักวิธีที่จะเล่นกับเพื่อน หรือสื่อสารกับคุณครูได้ดี

วิธีสอนลูกแบ่งปันสิ่งของ

  • อย่าบังคับ

ค่อยๆ สอน ค่อยๆ อธิบาย เราเป็นผู้ใหญ่ยังหวงของที่มีค่ากับเราเลย สำหรับเด็กอย่ามองว่าเป็นแค่ของเล่นหรือแค่ขนม เพราะมันคือของมีค่าสำหรับเขาเช่นกัน ลองบอก “หนูจะเล่นอีกกี่นาทีดี แล้วแลกกันนะ” หรือ “รอเพื่อนเล่นเสร็จก่อนเราค่อยเล่น ตอนนี้เล่นอันนี้ก่อนดีไหมคะ” ของเล่นใหม่ๆ แปลกๆ มักจะล่อความสนใจได้เสมอ

  • ห้ามดุหรือลงโทษ

การดุหรือลงโทษไม่สามารถสอนเด็กได้ มีแต่จะก่อความรู้สึกทางลบให้กับเด็กหวงของที่จะแบ่งปัน หรือแม้แต่การเข้าไปแย่งสิ่งของนั้นออกมาจากมือลูกก็ไม่ควรทำ เพราะคุณกำลังสอนให้ลูกเข้าใจว่า การแย่งของไปจากมือคนอื่นเป็นเรื่องที่ทำได้ ใช้น้ำเสียงจริงจัง บอกให้ลูกวางของลงแล้วหยิบออกไป “ถ้าแย่งกันคุณแม่ขอนะ ไว้แบ่งกันได้เมื่อไรค่อยเอามาเล่นกันนะคะ”

  • ทำให้ลูกเห็น

เด็กๆ เรียนรู้จากการเห็นและเลียนแบบ คุณพ่อคุณแม่ต้องทำให้เห็น ถ้ามีใครมายืมอะไร ให้ยืมแล้วพูดให้ลูกได้ยิน “คุณแม่ให้เพื่อนยืมปากกาแท่งโปรดของคุณแม่ด้วย” หรือจัดฉากขึ้นก็ได้ (เด็กๆ ไม่รู้หรอกคะ) เช่น “พ่อคะแม่แบ่งขนมให้นะ” “ขอบใจจ๊ะแม่ เดี๋ยวพ่อให้แม่ยืมอ่านหนังสือของพ่อเล่มนี้นะ”

  • เรียนรู้ผ่านเกม

เด็กๆ ชอบเล่นเกมและจะสนใจสิ่งที่เราพูดโดยไม่ต้องบังคับ อาจจะใช้ตุ๊กตามาวางหลายๆ ตัว “นี่ค่ะ หนูเอาบล็อกสีแดงให้พี่หมี สีเขียวให้พี่หมู สีชมพูให้พี่หมา ของหนูสีอะไรดีคะ” หรือเอาขนมมาถุงหนึ่ง “ลูกขา ชิ้นนี้วิ่งไปให้คุณพ่อ ชิ้นนี้ให้พี่ ชิ้นนี้ของหนู” แล้วสลับให้คนอื่นให้ลูกบ้าง โดยเฉพาะระหว่างพี่น้องนั้นการแบ่งพ่อแม่ค่อนข้างเป็นเรื่องคับข้องหมองใจ เราต้องพยายามหากิจกรรมสนุกๆ เล่นร่วมกัน และสอนการแบ่งปันไปด้วย เช่น “อ้าว เล่นโยกเยกกันดีกว่า พี่นั่งขานี้ของพ่อ น้องนั่งขาอีกข้างนะ โยกเยกๆ” ทำขาขึ้นลงสลับกัน เป็นต้น

  • เคารพสิทธิในของของลูก

ยอมรับว่านี่คือของของลูกและลูกหวง เพราะมันคือของมีค่าของเขา เราไม่ต้องการให้ใครมายุ่งกับของมีค่าของเราเช่นใด ลูกก็คิดเช่นนั้น เวลาจะหยิบจับของที่ลูกหวง บอกลูกด้วย คุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกว่า ทำไมต้องขออนุญาตลูกด้วย แต่เรากำลังสอนเขาเช่นกันว่าถ้าเขาจะหยิบจับของๆ ผู้อื่นก็ต้องขออนุญาตเช่นกัน

สอนเด็กหวงของเล่น อย่างไรให้มีทักษะการเข้าสังคม

เมื่อเด็กหวงของเล่น ชอบแย่งของเล่น คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองควรสอนลูกให้รู้จักแบ่งปันอย่างไร เพื่อฝึกทักษะการเข้าสังคมให้กับเขาตั้งแต่ยังเด็ก และเป็นการเตรียมพร้อมก้าวเข้าสู่สังคมที่โรงเรียนโดยไม่มีปัญหา

  • เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก เพราะพ่อแม่คือต้นแบบของพวกเขา เด็กจะจดจำและเลียนแบบพฤติกรรมจากผู้ปกครอง
  • เมื่อลูกได้รับการแบ่งปันสิ่งของ หรือของเล่นจากเด็กคนอื่นๆ ควรแสดงความชื่นชมเด็กที่รู้จักแบ่งปัน เพื่อให้ลูกเกิดการเรียนรู้ว่า หากทำพฤติกรรมเหมือนกับเด็กที่รู้จักแบ่งปัน ลูกจะได้รับความชื่นชม และทำให้พ่อแม่ภูมิใจ
  • เมื่อพบว่า ลูกอยากเล่นของเล่นของคนอื่น และแย่งของเล่นจากคนอื่น ไม่ควรเริ่มต้นด้วยการดุ ตี ให้เด็กรู้สึกอาย หรือเสียหน้า เพราะเหมือนเป็นการปลูกฝังให้เขาเป็นเด็กก้าวร้าว แต่ควรสอนลูกให้รู้ว่า ของชิ้นไหนที่ไม่ใช่ของเขา เมื่ออยากเล่นก็ต้องมีการขออนุญาตเจ้าของก่อน หรือรู้จักรอคอย ผลัดกันเล่นตามคิว
  • หากเด็กทะเลาะกัน พี่น้องทะเลาะกัน เพราะแย่งของเล่น ผู้ปกครองควรสอนให้เขารู้จักแสดงพฤติกรรมเพื่อขอแบ่งปันจากเพื่อน/พี่น้อง อย่างเหมาะสม เช่น รู้จักพูดว่า “ขอเล่นด้วยนะ” และรอให้เจ้าของอนุญาตก่อนเล่น ไม่ใช่แย่งของเล่นจากมือคนอื่น จนเกิดการทะเลาะกัน
  • ในกรณีที่ลูกขอแบ่งปันของเล่น แต่อีกฝ่ายไม่แบ่งปัน ก็ควรสอนให้เขารู้ว่า “วันนี้เพื่อนยังไม่พร้อมที่จะแบ่ง แต่ครั้งหน้าเพื่อนจะแบ่งให้เล่นด้วย” หากลูกร้องไห้ไม่หยุด เพราะต้องการจะเอาให้ได้ ให้เบี่ยงเบนความสนใจเด็ก
  • เมื่อเด็กหวงของเล่นของตนเอง ไม่พร้อมที่จะแบ่งปัน ไม่ควรบีบบังคับเด็กจนเกินไป ควรค่อยๆ สอน ถึงแม้วันนี้เขาจะไม่ยอมแบ่งปันก็ตาม เพราะหากเด็กแบ่งปัน โดยเกิดจากการบังคับ จะทำให้เด็กคับข้องใจ ยิ่งจะแสดงพฤติกรรมเป็นเด็กก้าวร้าวออกมา
  • สอนลูกให้รู้จักแบ่งปันกับคนในครอบครัว เช่น แบ่งขนม แบ่งของเล่นให้พี่น้อง และพ่อแม่ จะเป็นการปลูกฝังให้เขารู้จักแบ่งปัน และนำพฤติกรรมนี้ไปใช้กับเพื่อนๆ
  • เมื่อลูกแบ่งปัน ควรชื่นชม และแสดงความภูมิใจในตัวเขา เขาจะรู้สึกมั่นใจที่จะแบ่งปันของเล่น และสิ่งของให้กับผู้อื่น โดยไม่เกิดการคับข้องใจ

ผลกระทบของการไม่ฝึกลูกให้รู้จักแบ่งปัน

หากเด็กหวงของไม่ได้ถูกฝึกทักษะการแบ่งปันตั้งแต่เล็กๆ เมื่อถึงวัยเข้าโรงเรียนเขาจะมีแสดงพฤติกรรมอย่างไรบ้าง ที่ทำให้เพื่อนๆ ไม่อยากเล่นด้วย และคนรอบข้างไม่อยากเป็นเพื่อนกับเขา

  • การเป็นเด็กหวงของ จะทำให้ลูกเอาแต่ใจ ลูกร้องไห้ไม่หยุดเมื่อไม่ได้สิ่งที่ต้องการ และไม่ค่อยยอมรับกฎกติกาของการเล่นกับผู้อื่น
  • การเป็นเด็กหวงของ จะม่รู้จักรอคอย เมื่ออยากได้อะไร ต้องเอาให้ได้ในทันที
  • การเป็นเด็กหวงของ ร่วมเล่นกับคนอื่นไม่เป็น ไม่รู้จักพูดในสิ่งที่ต้องการอย่างเหมาะสม แต่ใช้อารมณ์และแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมแทน
  • การเป็นเด็กหวงของ จะทำให้ป็นเด็กก้าวร้าว อาจปาข้าวของ ทุบตีเพื่อน เพราะยับยั้งชั่งใจไม่ได้ เมื่อรู้สึกโกรธ ไม่ได้ดั่งใจและหงุดหงิด
  • การเป็นเด็กหวงของ จะม่แคร์ความรู้สึกของผู้อื่น ตั้งตัวเองเป็นศูนย์กลาง

 

คุณพ่อคุณแม่คงเห็นแล้วว่า อาการที่เด็กหวงของเป็นเรื่องปกติ แต่หากสอนตั้งแต่เนิ่นๆ ก็เป็นการแก้ปัญหาการควมคุมอารมณ์ของลูก รวมถึงทักษะการแบ่งปันของเด็กสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะทำให้เขาเติบโตไปอย่างมีคุณภาพ และเข้าสังคมได้อย่างมีความสุข

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับด็ก

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่  yamashita-hiromi.net

สนับสนุนโดย  ufabet369