Posts List

Health

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการและการรักษาอย่างไร
    กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการและการรักษาอย่างไร

    กล้ามเนื้ออ่อนแรง หลายคนอาจจะคิดว่าต้องเป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ แต่ความเป็นจริงแล้วเกี่ยวข้องกับระบบประสาทที่ส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาทนำคำสั่งที่อยู่ในสมองและไขสันหลัง โดยโรคนี้มักจะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ จนเราไม่อาจรู้ตัว และอาการจะรุนแรงขึ้นจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวมักจะเกิดอาการที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันเสียแล้ว ดังนั้นมาทำความรู้จักโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงก่อนที่จะลุกลามกัน

    กล้ามเนื้ออ่อนแรง คือโรคอะไร

    กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉลี่ยผู้ป่วยจะเสียชีวิตหลังจากมีอาการในระยะเวลาประมาณ 2.5 ปี ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตมักเกิดจากระบบหายใจล้มเหลวและการติดเชื้อในปอดอันเนื่องมาจากการสำลัก

    โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS ย่อมาจาก Amyotrophic Lateral Sclerosis ซึ่งไม่ใช่โรคของกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง แล้วส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากขาดเซลล์ประสาทนำคำสั่งมาควบคุม โดยที่เซลล์ประสาทนำคำสั่งเหล่านี้ค่อยๆ เกิดการเสื่อมและตายไปในที่สุด ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่ชัดเจน แต่พบว่าเกิดจากหลายเหตุปัจจัย เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของสารพิษ

    อายุเฉลี่ยที่เกิดขึ้นของโรคอยู่ระหว่าง 60-65 ปี

    ดังนั้น โอกาสที่จะพบโรค ALS ในคนอายุมากจึงมีมากกว่าในคนอายุน้อย โดยทั่วไปแล้วมักพบโรค ALS ในเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง 1.5 เท่า แต่มีโอกาสเสี่ยงน้อยมากที่จะเกิดโรคในรุ่นลูกรุ่นหลาน

    อาการของโรค ALS

    เริ่มต้นผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของมือ แขนขาหรือ เท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อน เช่น ยกแขนไม่ขึ้นเหนือศีรษะ กำมือถือของไม่ได้ ข้อมือหรือข้อเท้าตก เดินแล้วหกล้มบ่อยหรือสะดุดบ่อย ขึ้นบันไดลำบาก นั่งยองๆลุกขึ้นลำบาก เป็นต้น

    อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นจนลามไปทั้ง 2 ข้าง แต่ในบางรายอาจมีอากาของแขนหรือขาทั้ง 2 ข้างตั้งแต่ต้น นอกจากอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแล้วยังพบว่ามีกล้ามเนื้อลีบร่วมกับกล้ามเนื้อเต้นที่เรียกว่า fasciculation ร่วมด้วย

    ผู้ป่วยบางรายอาจมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยมือลีบหรือขาลีบ พูดไม่ชัด พูดเหมือนลิ้นแข็ง หรือลิ้นลีบ เวลากลืนน้ำหรืออาหารแล้วจะสำลัก ผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยกล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรง ทำให้เหนื่อยง่ายโดยเฉพาะเวลานอนราบ หรือมีอาการต้องตื่นกลางดึกเพราะมีอาการเหนื่อยหายใจไม่อิ่ม

    เนื่องจากอาการของโรค ALS คล้ายกับโรคอื่น ทำให้ผู้ป่วย ALS ในช่วงต้นได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอื่น เช่น มีผู้ป่วยบางรายที่มาด้วยมือลีบอาจได้รับการวินิจฉัยไม่ถูกต้อง เช่น เป็นพังผืดรัดเส้นประสาทที่ข้อมือ (carpal tunnel syndrome) และได้รับการผ่าตัดแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรืออาจได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่คอหรือที่หลัง และได้รับการผ่าตัดไปแล้วพบว่าอาการไม่ดีขึ้น แล้วได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น ALS ในภายหลัง

    โดยทั่วไปเมื่ออาการของโรค ALS เป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้อของแขนขาอ่อนแรงและลีบที่แย่ลงร่วมกับกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูด การกลืนอ่อนแรง จนต้องใช้ท่อให้อาหารทางสายยางผ่านทางจมูกหรือทางหน้าท้อง และกล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรงอ่อนแรงจนกระทั่งต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

    อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดขึ้นทุกส่วน

    โรคนี้สามารถเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อได้ทุกส่วนของร่างกาย โดยอาจเริ่มจากที่มือ เท้า หรือแขน จากนั้นจะค่อย ๆ ไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้

    • กล้ามเนื้อแขน ทำให้แขนไม่มีแรง กำมือไม่ได้ข้างใดข้างหนึ่ง จากนั้นแขนจะเริ่มลีบลง แล้วจะลามไปยังแขนอีกข้างหนึ่ง
    • รู้สึกปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง อาจเกิดอาการกระตุก รวมทั้งบริเวณแขน ไหล่ และลิ้นอาจมีอาการแข็งเกร็ง ทำให้ไม่สามารถขยับเขยื้อนร่างกายได้ บางรายอาจมีอาการหนักจนไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้
    • ไม่สามารถควบคุมกระบังลมได้จึงทำให้หายใจไม่สะดวก

    สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

    โรคนี้เกิดจากเซลล์ประสาทเสื่อมสภาพ หรือถูกทำลายทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง ซึ่งเซลล์ประสาทในส่วนนี้จะทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว โดยสมมติฐานเชื่อว่าโรคนี้เกิดจากหลายเหตุปัจจัยก่อให้เกิดโรคร่วมกัน ได้แก่ ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม โดยมีประวัติสัมผัสกับโลหะ หรือสารเคมีบางชนิดที่อาจทำให้ประสาทนำคำสั่งเกิดการทำงานผิดปกติ มีข้อสันนิษฐานจากปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรค ALS ดังต่อไปนี้

    • ความผิดปกติของภูมิคุ้มกันตัวเอง หรือโปรตีนบางชนิดทำให้เซลล์ประสาทถูกทำลาย
    • ทางพันธุกรรมที่ทำให้เซลล์ประสาทเสื่อมสภาพ
    • เป็นโรคกล้ามเนื้อเส้น โรคประสาทอักเสบ หลอดเลือดสมองตีบตันมาก่อน
    • มีการสัมผัสสารเคมีที่ปนเปื้อน เช่น ยาฆ่าแมลง โลหะ และรังสี เป็นต้น
    • เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิดที่กระตุ้นให้เซลล์ประสาททำงานผิดปกติ
    • ปัจจัยอายุที่เพิ่มขึ้นยิ่งทำให้เซลล์สมองเสื่อมสภาพได้

    กล้ามเนื้ออ่อนแรง

    การวินิจฉัยและการรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

    การวินิจฉัยโรคนี้อาจต้องมีการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และตรวจโดยใช้อุปกรณ์ช่วยเสริม ดังนี้

    • การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ เพื่อวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและกล้ามเนื้อโดยตรง
    • การตรวจชักนำประสาท เพื่อกระตุ้นเส้นประสาท วัดการทำงานของเส้นประสาท
    • การตรวจ MRI SCAN เพื่อตรวจดูความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในโพรงกระดูก หรือไขกระดูก
    • การเจาะน้ำไขสันหลัง เพื่อวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทส่วนกลางและสมอง

    การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

    การรักษาด้วยการรับประทานยาสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

    • กลุ่มแรกเป็นยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาท เช่น pyridostigmine เป็นต้น
    • กลุ่มต่อมา คือยากดภูมิคุ้มกัน เช่น corticosteroid, azathioprine และ mycophenolate mofetil

    การรักษาด้วยการผ่าตัดในกรณีผู้ป่วยมีก้อนเนื้องอกไทมัส กรณีตรวจพบจากการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณหน้าอก

    คำแนะนำของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ในภาวะปกติผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงอากาศร้อน กิจกรรมที่ต้องออกแรงต่อเนื่อง การพักผ่อนไม่เพียงพอ ในภาวะเจ็บป่วยเมื่อเข้าพบแพทย์ควรแจ้งถึงโรคและอาการของผู้ป่วยเนื่องจากการใช้ยาบางชนิดอาจทำให้อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงแย่ลง

    ปัจจุบันโรคนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาโรคนี้เพียงแต่รักษาไปตามอาการ และใช้ยาเพื่อชะลอการดำเนินของโรคเท่านั้น ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายหลังจากแสดงอาการประมาณ 2-3 ปี แต่บางรายหากครอบครัว และคนใกล้ชิดให้ความใส่ใจ และดูแลผู้ป่วยทั้งทางกาย และทางใจอาจทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้นานเป็น 10 ปี ดังนั้นการให้กำลังใจ และคอยอยู่เคียงข้างผู้ป่วย แม้เราจะรู้อยู่แล้วว่าปลายทางอาจจะดูมืดมน เพราะไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ แต่การให้กำลังใจก็เปรียบเสมือนแสงสว่างที่คอยจุดประกายให้คน ๆ นั้นเดินทางต่อไปได้ เราเชื่อว่าหากจิตใจของผู้ป่วยได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจะทำให้สภาพร่างกายของผู้ป่วยดีขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

    ปัจจุบัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดอาการได้โดย การมีสุขอนามัยทีดี หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อต่างๆ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักเกินไป ควบคุมความเครียด ไม่ทำให้ตัวเองรู้สึกร้อนหรือหนาวมากเกินไป

    การป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

    โรคนี้ไม่พบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัดจึงยังไม่มีวิธีป้องกันได้ 100 % แต่เราสามารถให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ ดังนี้

    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์
    • พยายามหลีกเลี่ยงสัมผัสกับสารเคมี หรือรังสีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น โลหะหนัก ยาฆ่าแมลง เป็นต้น

    อาหาร 6 ชนิด ที่ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น

    1. ไข่

    ไข่เป็นอาหารสร้างกล้ามเนื้อที่หากินได้สะดวกมาก ๆ ส่วนมากมักจะกินเป็นเมนูไข่ต้ม ที่ปรุงง่าย รสชาติดี ในไข่ไก่ 1 ใบ จะให้โปรตีนประมาณ 5-6 กรัม ให้พลังงานประมาณ 75 แคลอรี่ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการทานอาหารเพิ่มกล้ามเนื้อเป็นอย่างมาก และได้ประโยชน์อีกด้วย ควรเน้นทานเฉพาะไข่ขาวเพราะร่างกายต้องการโปรตีนไขมันต่ำนั่นเอง

    2. อกไก่

    เป็นเนื้อสัตว์ยอดฮิตสำหรับคนเล่นกล้ามเลยก็ว่าได้ สำหรับอกไก่นั้นสามารถนำมาทำเป็นเมนูอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น อกไก่พริกไทยดำ สเต็กอกไก่ เป็นต้น เนื่องจากอกไก่นั้นมีปริมาณโปรตีนสูงจึงเป็นอาหารสร้างกล้ามเนื้อชั้นดี และในอกไก่ยังมีสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อการสร้างกล้ามเนื้ออีกด้วย เช่น ซิงก์ ซิลิเนียม เหล็ก วิตามินบี 6 ไนอาซิน เป็นต้น

    3.นมถั่วเหลือง

    ในนมถั่วเหลืองก็มีโปรตีนสูงเช่นเดียวกัน แต่ต้องระวังเรื่องน้ำตาลกันด้วยนะ ควรเลือกกินนมถั่วเหลืองสูตรน้ำตาล 0% และมีปริมาณไขมันน้อยกว่าในนมวัว คนที่ควบคุมอาหารจึงนิยมทานนมถั่วเหลืองเป็นอาหารสร้างกล้ามเนื้อ

    4. ข้าวโอ๊ต

    คุณค่าทางอาหารของข้าวโอ๊ตนั้นสูงไม่แพ้กับอาหารเพื่อสุขภาพชนิดอื่น ๆ มีไฟเบอร์สูง ซึ่งดีต่อระบบขับถ่าย ช่วยในการเผลาผลาญพลังงาน และยังช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ อีกทั้งยังสามารถนำไปประกอบอาหารได้อีกหลากหลายเมนูอีกด้วย

    5. แซลมอน

    ในแซลมอนมีกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นจำนวนมาก มีกรด EPA และ DHA ที่สามารถช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกายได้ แม้โปรตีนอาจจะไม่สูงเท่าอกไก่ แต่ในแซลมอนก็อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็น เช่น แคลเซียม เหล็ก ซิลิเนียม วิตามินบี ฯลฯ ในเนื้อแซลมอน 100 กรัม มีโปรตีน 25 กรัม ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยมของอาหารเพิ่มกล้ามเนื้อ

    6. หอยนางลม

    หอยนางรมสามารถทานเป็นอาหารเพิ่มกล้ามเนื้อได้ เพราะในหอยนางรมนั้นอุดมไปด้วยวิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 สามารถช่วยบำรุงกล้ามเนื้อได้ดี หอยนางรม 100 กรัม มีโปรตีนมากถึง 20 กรัมเลยทีเดียว ท้ายที่สุด ไม่ว่าจะเป็นระบบใดในร่างกายและไม่ว่าจะมีอาการเจ็บป่วยมากน้อยขนาดไหน สิ่งที่เราทุกคนพึงกระทำคือการดูแลตัวเอง ออกกำลังกาย และเลือกอาหารที่ดีอยู่เสมอ เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าโรคร้ายจะถามหาเราเมื่อไหร่ เพราะบางโรคอาจเริ่มที่จุดเล็กๆ และลุกลามโดยที่เราไม่รู้และเลือกที่จะละเลย ระบบกล้ามเนื้อคือตัวอย่างนิยามของคำว่า “สุขภาพดี” อีกคำหนึ่งอย่างแท้จริง

     

    โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นโรคที่พบผู้ป่วยในจำนวนน้อย ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และไม่มีการรักษาให้หายขาด จึงเป็นโรคที่ค่อนข้างน่ากลัว การดูแลสุขภาพตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาที่ไม่รู้ว่าจะหายหรือไม่

     

    เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

     

    ที่มาของบทความ

     

    ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ yamashita-hiromi.net

    สนับสนุนโดย  ufabet369

Economy

  • รายละเอียดกองทุนผู้สูงอายุ เปิดให้ ‘กู้เงิน’ ปลอดดอกเบี้ย
    รายละเอียดกองทุนผู้สูงอายุ เปิดให้ ‘กู้เงิน’ ปลอดดอกเบี้ย

    กองทุนผู้สูงอายุ พม. เร่งช่วยเหลือผู้สูงอายุประกอบอาชีพ เปิดให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปกู้ยืมเงินทุนรายบุคคล-รายกลุ่ม ปลอดดอกเบี้ย
    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เดินหน้าดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุในการประกอบอาชีพ กองทุนผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ ได้เปิดให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ รายบุคคลวงเงินไม่เกินคนละ 30,000 บาท รายกลุ่ม 5 คนขึ้นไปวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ย เน้นย้ำการดูแลผู้สูงอายุผ่านกองทุนผู้สูงอายุ เป็นความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายด้านสวัสดิการผู้สูงอายุที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้นำเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยดังกล่าว มาเป็นเงินทุนหรือเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบธุรกิจ รวมถึงเป็นการหมุนเวียนสภาพคล่องทางการใช้จ่ายให้กับผู้สูงอายุ ทดแทนการเป็นหนี้นอกระบบ

    นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ผู้ร่วมกู้จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน จะต้องมีผู้ค้ำประกัน การกู้ยืมทุกประเภทต้องชำระคืนเป็นรายงวด ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ย

    คุณสมบัติของผู้กู้
    มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
    มีความจำเป็นขอรับการสนับสนุนเงินกู้ยืมประกอบอาชีพ
    มีความสามารถในการประกอบอาชีพ
    มีสภาพร่างกายแข็งแรงประกอบอาชีพได้
    มีปัจจัยในการสนับสนุนการประกอบอาชีพ
    มีสถานที่ประกอบอาชีพอยู่จังหวัดเดียวกันกับที่ยื่นขอกู้ยืม
    ไม่เป็นผู้ค้างชำระเงินกองทุนผู้สูงอายุ

    คุณสมบัติของผู้ค้ำประกัน คือ
    มีอายุไม่เกิน 59 ปีบริบูรณ์
    เป็นผู้มีรายได้หรือเงินเดือนประจำ
    มีภูมิลำเนาตามทะเบียนราษฎร์อยู่จังหวัดเดียวกันกับผู้กู้ยืม
    ไม่อยู่ระหว่างเป็นผู้กู้ยืม ไม่อยู่ระหว่างเป็นผู้ค้ำประกันให้กับบุคคลอื่นที่ขอกู้ยืม


    เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง ได้แก่
    บัตรประจำตัวประชาชน (ผู้กู้-ผู้ค้ำ)
    ทะเบียนบ้าน (ผู้กู้-ผู้ค้ำ)
    หนังสือรับรองเงินเดือนผู้ค้ำประกัน ใบสำคัญการสมรส หรือใบสำคัญการหย่า (ถ้ามี) ใบมรณะบัตรกรณีคู่สมรสเสียชีวิต (ถ้ามี) ใบเปลี่ยนชื่อ สกุล (ถ้ามี)
    กรณีผู้ยื่นคำร้องมีอายุ 80 ปีขึ้นไป ควรมีใบรับรองแพทย์
    รูปถ่ายเต็มตัวขณะประกอบอาชีพ

    สามารถกู้ยืมเงินผ่านช่องทางออนไลน์เว็บไซต์กองทุนผู้สูงอายุผู้สูงอายุ olderfund.dop.go.th ผู้สูงอายุที่สนใจ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2354 6100 กองทุนผู้สูงอายุ (กรมกิจการผู้สูงอายุ) กรุงเทพมหานคร หรือต่างจังหวัด ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ทุกจังหวัด

    ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 มีผู้กู้ยืมเงินประกอบอาชีพที่ผ่านการอนุมัติ จำนวน 579 ราย และมีโครงการที่ขอรับการสนับสนุนผ่านการอนุมัติ จำนวน 8 โครงการ โดยกองทุนผู้สูงอายุจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนผู้สูงอายุให้มีศักยภาพ ความมั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมขององค์กรที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสนับสนุนผู้สูงอายุให้มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง

    ติดตามข่าวเศรษฐกิจได้ที่ yamashita-hiromi.net